วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเพณีของชาวอีสานขนานเเท้ : เเห่นางเเมว

ประเพณีแห่นางแมว อ้อนวอนขอฝน
การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากๆ ควัน และละอองเขม่าน้ำมัน ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ ผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ทำให้อากาศสะอาดคือ "เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด
ความเชื่อ การแห่นางแมวภาคอีสาน
พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม, เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นต้น ดังนั้น ถ้ามนุษย์อยากให้เทวะคือน้ำฝนที่ดีไม่ใช่ดีเปรสชั่น มาเยี่ยมตามกาลเวลา มนุษย์ก็ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม เพราะคนที่มีศีลมีธรรมท่านจึงเรียกว่า "เทวะ" ทั้งๆ ที่เป็นคน เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เทวะคือฝน กับเทวะคือคนผู้มีคุณธรรม ย่อมจะมาหากันเพราะเป็นเล่ากอแห่งเทวะด้วยกัน เหมือนพระย่อมไปพักกับพระเป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของนางแมว
นอกจากแมวจะเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีเกิดและพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมไทยแล้ว แมวยังเข้ามามีส่วนร่วมในอีกประเพณีสำคัญของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นั่นคือ พิธีแห่นางแมวขอฝน คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้ และเมื่อถึงฤดูฝน หากฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว (แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ ตามภาพ) ตัวที่มีรูปร่างปราดเปรียว สวยงามตั้งแต่ 1-3 ตัว นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ
ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่ ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี

ผู้หญิงที่เข้าร่วมในพิธีแห่ จะผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้สดดอกโตๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา เมื่อขบวนแห่ถึงบ้านไหน แต่ละบ้านจะต้องออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา และมีความเชื่อว่า ถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ภายใน 3 วันหรือ 7 วัน นอกจากนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝน จะเป็นการช่วยเรียกให้ฝนตกแล้ว ยังถือว่าพิธีนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการช่วยเหลือกันในการประกอบพิธีอีกด้วย 
องค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
  1. กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
  2. แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว
  3. เทียน 5 คู่
  4. ดอกไม้ 5 คู่
  5. ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน
วิธีแห่นางแมว
  1. ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน
  2. หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่ง หรือกระบุงก็ได้
  3. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ หรือแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ)  1 ตัวใส่ในกะทอ  ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก
  4. ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่า คำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆ ไป ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาด
    หรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆ โดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆ เข้า แมวตายวันละตัว

         แห่นางแมว อิสาน 
ให้เอาแมวมา 1 ตัว ใส่ในกระทอ มีคนหามตั้งคายขัน 5 หามประกอบพิธีป่าวสัคเค เทวาเชิญเทวดาลงมาบอกกล่าวขอน้ำฝนกับเทวดาว่า จะขอฝนด้วยการใช้พิธีแห่นางแมว แล้วสั่งให้พวกหามแมวแห่เซิ้งไปตามถนนในหมู่บ้าน มีคนทั้งชาย หญิง และเด็กเดินถือดอกไม้ตามไปถึงเรือนหลังไหน คนในเรือนหลังนั้นก็เอาน้ำสาดมาใส่ทั้งแมวและคน เล่นเอาทั้งแมวทั้งคนหนาวไปตามๆ กัน ในบางแห่งจะมีการผูกเอวคนหัวล้าน 2 คน ทำฮึดฮัดจะชนกันตามกระบวนไปด้วย บางจุดก็หยุดให้หัวล้านชนกัน สลับคำเซิ้งชาวก็บ้านจะเอาน้ำรดแสดงไปเรื่อยๆ
จะเซิ้งอย่างนี้เริ่มจาก 3 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม หรือรอบหมู่บ้านแล้วหยุด พอหยุดไม่นานฝนก็จะตกฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าตามมา
คำเซิ้ง
แต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกัน แต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้

ตัวอย่าง คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว แบบที่ 1
"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊”
ตัวอย่าง คำเซิ้งนางแมว แบบที่ 2
เซิ้งอันนี้เผิ่นว่า เซิ้งนางแมว ย่างเป็นแถวกะนางแมวออกก่อน
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
 เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง กะขอฟ้าขอฝน
 ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)

เทลงมากะฝนเทลงมา ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา (ซ้ำ)


        พิธีกรรม
พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์คนสำคัญของไทย ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้

"นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว
นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน
ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที
มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที
มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก
พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว
คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย
พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว
มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา

เมื่อเคลื่อนขบวนแห่ ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี ถ้อยคำกระเดียดไปทางหยาบโลน เมื่อแห่ถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาดลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่ จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า ข้าวปลา ไข่ต้ม
หรือของกินอย่างอื่น ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้ากระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมเลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ ไปจนกว่าฝนจะตก
ซึ่งสรุปเนื้อหาโดยรวมคือ "ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด ก็จะร้องเชื้อเชิญให้ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"หรือตะข้องที่ใส่แมว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งไปได้
     ขอบคุณข้อมูลและภาพ
  • http://www.geocities.com/renunakhon2002/main/link/renu02.html
  • http://www.oknation.net/blog/cat-a-blog/2007/10/27/entry-1
  • http://www.isangate.com/local/boran_isan_08.html
  • http://www.openbase.in.th/node/8754
  • http://board.dserver.org/b/berm/00000053.html
  • http://8152150link3.blogspot.com/2007/11/3.html

เฮดเเนวกินบ้านเฮา...ลาบเป็ดของเเซบครับ



ลาบเป็ดอีสาน อ.ภูเขียว  จ.ชัยภูมิ


ลาบเป็ดสูตรอีสานใส่น้ำปลาร้าเพื่อความเป็นรสชาติของอีสาน ไม่ใส่น้ำตาล
 ส่วนผสม
เป็ดอ่อน 1/2 ตัว

ปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลาดี 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 1/4 ถ้วยตวง
ข้าวคั่ว 3 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอยบาง ๆ 1/4 ถ้วยตวง
ผักชีฝรั่งหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ผักชีหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
ใบมะกรูดหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
ข่าหั่นเป็นแว่น ๆ 5 แว่น
ตะไคร้หั่นเป็นท่อน ๆ 1 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
ผักสดต่าง ๆ เช่น ถั่วผักยาว ผักชี ใบโหระพา เป็นต้น


วิธีการทำ

1. ต้มน้ำให้เดือดใส่ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูดฉีก นำเป็ดลงต้ม พอสุกตักขึ้นลอกหนังเป็ดออก หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (หนังเป็ดต้มพอสุก อย่าให้เละจะทำให้ลาบแฉะ)
2. เลาะเนื้อเป็ด หั่นเป็นชิ้น ๆ สับละเอียดผสมข่าให้เข้ากัน พร้อมทั้งหนังเป็ด นำขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง พอเป็ดสุกทั่วดีแล้วยกลง
3. ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว น้ำตาลทราย ชิมรสให้กลมกล่อม
4. นำเป็ดที่รวนแล้ว ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปรุงรส เคล้าให้เข้ากัน ใส่หอมแดง ใบสะระแหน่ ผักชีฝรั่ง ต้นหอม ผักชี ใบมะกรูด เค้าให้เข้ากัน จัดใส่จาน รับประทานกับผักสด


***อาหารอีสานหลายอย่างเเพร่ขยายไปสู่สังคมในภูมิภาคต่างๆ โดยเป็นที่รู้จักของคนส่วนใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำปูปลาร้า  ข้าวเหนียว  ไก่ย่าง  ลาบ  ก้อย  ซอย  ห่าง  ต้มยำอีสาน  เเกงหน่อไม้  ซึ่งอาหารอีสานจัดได้ว่าเป็นที่นิยมที่สุดของคนหมู่มากในประเทศไทยเลยก็ว่าได้  (เเซบอีหลี) เเปลว่า  อร่อยมาก

   



ขอขอบคุณ 
นายยุทธ  พงษ์พัง  ผู้ทำลาบเป็ดอีสาน  เกี่ยวข้องเป็น (ตา)
สถานที่จัดทำ : ทุ่งนา


วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานที่ดีเเละการเขียนบรรณานุกรม (อ้างอิง)



การเขียนรายงานทางวิชาการ




การเขียนรายงานทางวิชาการ  เป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับการเรียน ในระดับอุดมศึกษา  ทั้งนี้เนื่องจากการศึกษาในระดับนี้จะเน้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  สามารถแสวงหาความรู้   ฝึกฝนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้    รวมทั้งสามารถนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ของตนเองได้ นักศึกษาจะเขียนรายงานทางวิชาการได้อย่างไร รายงานลักษณะใดที่จัดว่าเป็นรายงานที่ดี    มีระเบียบวิธีการอะไรบ้างที่จะต้องเรียนรู้ก่อนทำรายงาน   ในบทความนี้จะให้คำตอบที่เป็นหลักปฏิบัติของคำถามเหล่านั้น   เพื่อให้นักศึกษาได้นำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการเขียนรายงาน 

ลักษณะของรายงานที่ดี

รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ 

1.รูปเล่ม  ประกอบด้วยหน้าสำคัญต่าง ๆ ครบถ้วน  การพิมพ์ประณีตสวยงาม  การจัดย่อหน้าข้อความเป็นแนวตรงกันใช้ตัวอักษรรูปแบบ (Font) เดียวกันทั้งเล่ม  จัดตำแหน่งข้อความและรูปภาพได้สอดคล้องสัมพันธ์ และอ่านง่าย
2. เนื้อหา  เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าที่น่าสนใจของผู้เขียน    แสดงถึงข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง  เป็นปัจจุบันทันสมัย   ครอบคลุมเรื่องได้อย่างสมบูรณ์  แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งของผู้เขียน   นอกจากแสดงความรู้ในข้อเท็จจริงแล้ว ผู้เขียนควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์  นำเสนอความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ๆ ทรรศนะ            ใหม่ๆหรือแนวทางแก้ปัญหาในเรื่องที่กําลังศึกษาอยู่ ด้วยการเรียบเรียงเนื้อหาเป็นไปตามลำดับไม่ซ้ำซากวกวนแสดงให้เห็นความสามารถในการกลั่นกรอง  สรุปความรู้และความคิดที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ
3. สำนวนภาษา  เป็นภาษาที่นิยมโดยทั่วไป   สละสลวย  ชัดเจน  มีการเว้นวรรคตอน สะกดการันต์ถูกต้อง  ลำดับความได้ต่อเนื่อง  และสัมพันธ์กันตลอดเรื่อง
4.  การอ้างอิงและบรรณานุกรมถูกต้องตามแบบแผน   มีการแสดงหลักฐานที่มาของข้อมูลอย่างถูกต้องละเอียดถี่ถ้วน  เมื่อกล่าวถึงเรื่องใดก็มีหลักฐานอ้างอิงเพียงพอและสมเหตุสมผล     เลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้   ซึ่งการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรมจะบ่งบอกถึงคุณภาพทางวิชาการของรายงานนั้น

 ขั้นตอนการทำรายงาน

การทำรายงานให้ประสบความสำเร็จ  ควรวางแผนดำเนินการเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดเรื่อง
การกำหนดเรื่องที่จะทำรายงาน  ต้องเกิดจากความต้องการอยากรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจ    หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นอยู่บ้างแล้ว    ขอบเขตของเรื่องไม่ควรกว้างหรือแคบเกินไป   เพราะถ้ากว้างเกินไปจะทำให้เขียนได้อย่างผิวเผิน หรือถ้าเรื่องแคบเกินไปอาจจะไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนได้   ในการกำหนดเรื่องควรคิดโครงเรื่องไว้คร่าว ๆ  ว่าจะมีเนื้อหาในหัวข้อใดบ้าง 
2. สำรวจแหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูลเบื้องต้นควรเริ่มที่ห้องสมุดและอินเทอร์เน็ต  ในการสำรวจควรใช้เครื่องมือที่แหล่งนั้นจัดเตรียมไว้ให้ เช่นห้องสมุดควรใช้  บัตรรายการ  บัตรดัชนีวารสาร  และ โอแพค (OPAC)  เป็นต้น  การค้นทางอินเทอร์เน็ตควรใช้เว็บไซต์ Google, Yahoo  เป็นต้น  นักศึกษาต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือและคำสั่งในการสืบค้นให้เข้าใจดีเสียก่อน  จึงจะช่วยให้ค้นคว้าได้รวดเร็วและได้เนื้อหาสาระที่ครบถ้วน     เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วจะต้องจัดเก็บรวบรวมให้เป็นระบบ  เป็นหมวดหมู่    เอกสารที่รวบรวมได้ทุกรายการต้องเขียนบรรณานุกรมบอกแหล่งที่มาไว้ด้วย  เพื่อใช้ค้นคืนไปยังแหล่งเดิมได้อีกในภายหลัง
3.กำหนดโครงเรื่อง
การกำหนดโครงเรื่อง เป็นการกำหนดขอบข่ายเนื้อหาของรายงานว่าจะให้มีหัวข้อเรื่องอะไรบ้าง  โครงเรื่องที่ดีจะต้องมีสาระสำคัญที่ตอบคำถาม  5W1H ได้ครบถ้วน  กล่าวคือ เนื้อหาของรายงานควรตอบคำถามต่อไปนี้ได้   เช่น     ใครเกี่ยวข้อง (Who)  เป็นเรื่องอะไร (What)  เกิดขึ้นเมื่อไร (When)  ที่ไหน (Where)   ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น--เพราะเหตุใด (Why)   เรื่องนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือมีวิธีทำอย่างไร (How) 
การคิดโครงเรื่องอาจใช้ผังความคิด (Mind map) ช่วยในการกำหนดประเด็นหัวข้อใหญ่หัวข้อรอง   ส่วนการจัดเรียงหัวข้อให้มีความสัมพันธ์เป็นลำดับต่อเนื่องที่ดี อาจใช้ผังความคิดแบบก้างปลา (Fish bone diagram) หรือแบบต้นไม้ (Tree diagram)   จะช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของแนวคิดได้ง่ายขึ้น    การตั้งชื่อหัวข้อควรให้สั้นกระชับได้ใจความครอบคลุมเนื้อหาในตอนนั้น ๆ
4. รวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง 
เมื่อกำหนดโครงเรื่องแน่ชัดดีแล้ว  จึงลงมือสืบค้นและรวบรวมข้อมูลตามบรรณานุกรมที่รวบรวมไว้ในขั้นตอนการสำรวจ     การรวบรวมอาจจะถ่ายเอกสารจากห้องสมุด หรือพิมพ์หน้าเอกสารที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต  เสร็จแล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาแยกตามหัวข้อเรื่องที่กำหนดไว้
5. อ่านตีความ สังเคราะห์ข้อมูล และจดบันทึก
การอ่านให้เน้นอ่านจับใจความสำคัญของเรื่อง  เพื่อดึงเนื้อหาที่สอดคล้องกับประเด็น แนวคิดต่างๆ ตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้   ทำการบันทึกเนื้อหาลงในบัตรบันทึก  เสร็จแล้วนำบัตรบันทึกมาจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิด เพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป    หรืออาจทำเครื่องหมายตรงใจความสำคัญ (ขีดเส้นใต้) แทนการทำบัตรบันทึก  (กรณีเป็นหนังสือของห้องสมุดไม่ควรขีดเขียนหรือทำเครื่องหมายใดๆ)
6.  เรียบเรียงเนื้อหา
เนื้อหาสาระที่นำมาเรียบเรียงต้องเป็นเนื้อหาที่ได้จากการประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากขั้นตอนที่ 5  มาแล้ว  (การวิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ   สามารถศึกษาและฝึกปฏิบัติได้ในรายวิชาสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า)

ส่วนประกอบของรายงาน
รายงานประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วนคือ
1) ส่วนนำเรื่อง ได้แก่ ปกนอก  ปกใน  คำนำ สารบัญ
 2) ส่วนเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย บทนำ  เนื้อเรื่อง และบทสรุป 
3) ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วยรายการอ้างอิง บรรณานุกรม  และ 
4) ภาคผนวก  ซึ่งแต่ละส่วนควรมีสาระสำคัญดังนี้

1.     ปกนอกและปกใน  ปกนอกใช้กระดาษอ่อนที่หนากว่าปกในซึ่งอาจเลือกสีได้ตามต้องการ  ไม่ควรมีภาพประกอบใด ๆ   ส่วนปกในและเนื้อเรื่องให้ใช้กระดาษขาวขนาด A4 ความหนาไม่ต่ำกว่า 80 แกรม   ปกในพิมพ์ข้อความเช่นเดียวกับปกนอก    ข้อความที่ปกนอกปกในประกอบด้วย  ชื่อเรื่องของรายงาน  ชื่อผู้เขียน  รหัสประจำตัว  ชื่อวิชา     ชื่อสถานศึกษา  และช่วงเวลาที่ทำรายงาน

ตัวอย่าง
  
2.     คำนำ   กล่าวถึงความสำคัญ วัตถุประสงค์ ความเป็นมา  ประเด็นหัวข้อเนื้อหาในรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากติดตามเรื่อง ซึ่งอาจเป็นปัญหา ประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไรต่อผู้อ่านและสังคม  อาจกล่าวขอบคุณหรือบอกแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ  สุดท้ายระบุชื่อ-สกุล ผู้เขียนรายงานและวันเดือนปีในการทำรายงาน  

ตัวอย่าง
  
3.สารบัญ   ระบุหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง (ถ้ามี) และเลขหน้า     ใช้จุดไข่ปลาลากโยงจากหัวข้อไปยังเลขหน้าให้ชัดเจน   การพิมพ์สารบัญต้องจัดย่อหน้าและเลขหน้าให้ตรงกัน  

ตัวอย่าง

4.เนื้อเรื่อง   เนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  ส่วนนำเรื่อง  ส่วนเนื้อเรื่อง  และส่วนสรุป  
ส่วนนำเรื่องหรือบทนำ  ต้องเขียนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากที่จะอ่านเนื้อหาต่อไป    บทนำอาจกล่าวถึง ความสำคัญ  บทบาท  ปัญหา  ผลกระทบ  วัตถุประสงค์  ขอบเขตเนื้อหา  หรือประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ เป็นต้น  ซึ่งประเด็นที่กล่าวนี้ไม่จำเป็นต้องมีทั้งหมด แต่อย่างน้อยให้มีประเด็นใดประเด็นหนึ่งดังที่กล่าว 
ตัวอย่าง

         5.การอ้างอิง   การอ้างอิงจะแทรกเป็นวงเล็บไว้ในเนื้อเรื่อง   เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อมูล  เป็นการยื่นยันความถูกต้องและแสดงความน่าเชื่อถือของข้อมูล   การอ้างอิงให้ระบุชื่อผู้แต่ง  ปีพิมพ์  และเลขหน้า   หรือที่เรียกว่าอ้างอิงแบบ  นาม- ปี  ซึ่งมีวิธีการดังนี้
ตัวอย่าง


5.1 ระบุไว้หลังข้อความที่อ้าง  เช่น  
สารสนเทศ หมายถึง ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ ที่ผ่านกระบวนการ ประมวลผล มีการถ่ายทอด และการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ รายงาน โสตทัศนวัสดุ เทปคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการถ่ายทอดในรูปแบบอื่นๆ เช่น คำพูด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ให้ผู้รับสารได้ทราบ   (ประภาวดี  สืบสนธิ์, 2543, หน้า 6)
                   5.2ระบุไว้ก่อนข้อความที่อ้าง  เช่น
ชุติมา  สัจจานันท์ (2530, หน้า 17) ให้ความหมายของสารสนเทศไว้ว่า คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศ ทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม
         6.     บรรณานุกรม  หน้าบรรณานุกรมจะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง   โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือที่นำมาอ้างอิงไว้ในรายงานได้แก่  ชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์  ชื่อบทความ  ชื่อหนังสือ  ครั้งที่พิมพ์  และสถานที่พิมพ์  เป็นต้น 
                   การเขียนบรรณานุกรมมีรูปแบบที่เป็นสากลหลายรูปแบบ  แต่ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ 1 1.แบบ MLA (Modern Language Association Style) ซึ่งนิยมใช้ในสาขามนุษยศาสตร์  
2.แบบ  APA (American Psychological Association Style) ซึ่งนิยมใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์  
                  

ลักษณะของการเขียนรายงานที่ดี
การเขียนรายงานที่ดีควรมีลักษณะที่ดีดังนี้
1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง และมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
2. มีความถูกต้องเที่ยงตรง และแม่นยำ
3. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
4. ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
5. แสดงว่าผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน อาจจะเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป
6. มีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
7. จัดเรียงลำดับของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดก็มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเพียงพอ สมเหตุสมผล ตลอดจนมีความสามารถในการกลั่นกรองและสรุปความรู้ความคิดได้จากแหล่งต่างๆ
8. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง
9. แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องและละเอียดถี่ถ้วน
10. ใช้ภาษาได้ถูกต้องได้ผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป


การเขียนอ้างอิงหรือบรรณานุกรม


ความหมายของบรรณานุกรม
        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม

1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
                2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
                3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้นๆ
                4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้

วิธีเขียนบรรณานุกรม
 การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
                2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
                3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8
              4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้

1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ


 1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว

           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2

           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3

           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ

           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง

           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย

           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล

           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์

1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 
           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ
           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน  
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์


                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก

                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”

                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”

                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”

2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร

    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี

3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์

    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์

    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว

    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์

4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ

    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)



ข้อคิดเพิ่มเติม
รายงานทางวิชาการเป็นผลจากการแสวงหาความรู้ตามขอบข่ายเนื้อหาสาระในรายวิชาต่างๆ  ที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมาย  เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมไปกับการมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของรายวิชาเหล่านั้น การทำรายงานทางวิชาการอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจาก 
1) กำหนดเรื่อง 
2) สำรวจแหล่งข้อมูล เพื่อค้นหาข้อมูลเบื้องต้นมาเป็นแนวทางในการ 
3) กำหนดโครงเรื่อง  
4) การรวบรวมข้อมูลตามโครงเรื่อง 
5) การอ่านวิเคราะห์และสังเคราะห์  แล้วจึงลงมือ
6) เขียนรายงาน  จะช่วยลดความยุ่งยากและช่วยให้การทำรายงานสำเร็จได้โดยง่าย    
รายงานทางวิชาการที่ดี  จะพิจารณากันที่  รูปเล่ม  เนื้อหา  การเขียนอธิบายความชัดเจน  เข้าใจง่าย   มีการแสดงหลักฐานอ้างอิงและบรรณานุกรม ที่มาของข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ถูกต้องตามแบบแผน   ดังนั้น การประเมินคุณค่าของรายงานจึงพิจารณาที่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ของผู้ทำรายงาน รายงานที่ดีจะต้องแสดงเนื้อหาสาระข้อเท็จจริงอย่างถูกต้อง   แสดงความคิดหรือทัศนะของผู้เขียนอย่างมีเหตุผล  และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ต้องเป็นผลงานที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาเอง  ซึ่งมิใช่ผลงานที่คัดลอกจากผู้อื่น 

ขอขอบคุณเเหล่งที่มาในการให้ข้อมูล

-ลักษณะของรายงานที่ดี.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนู  บุญญานุวัตร
-http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit5_part13.htm
-http://www.pramot.com/main/index.php/education-corner/165-bibliography
-http://blog.eduzones.com/jybjub/15711