ฮอลันดา
ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ชนเผ่า เยอรมันนิก และเคลติก ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แถบนั้น
ในช่วงปี พ.ศ. 1906 – 2025 เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย
หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทาง ทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่างๆ ของโลก เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก
เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสอง จึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)
เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457 – 2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพเยอรมนีได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483 – 2488 ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรป และองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต
เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินาเมประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์อัลไทลิส และอารูบายัง คงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
อันที่จริง ชื่อ ฮอลแลนด์นั้นเป็นชื่อแคว้น แคว้นๆหนึ่ง ในเนเดอร์แลนด์ (เหมือนคนไทยเรียกเมืองบางกอก แล้วฝรั่งเรียกแบงคอก) แต่ความที่แค้วน ฮอลแลนด์ อยู่บนคาบสมุทรแถบทะเลเหนือ ทำให้มีนักเดินเรือเยอะ ไปถิ่นไหนพอมีคนถามว่าเป็นคนที่ไหน ก็บอกเป็นชาวฮอลแลนด์ เหมือนคนไทยถามไถ่คนต่างถิ่นว่าหัวนอนปลายตีนเป็นคนที่ไหน ก็จะตอบว่า เป็นคย ยุดยา คนผักไห่ คนอ่างทอง อะไรทำนองนั้น จนฮอลันดาได้ชื่อว่า เป็นที่ก่อกำเนิดลัทธิ ทุนนิยมแห่งแรกของโลก
ภูมิศาสตร์ของฮอลันดา
สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี
ภาวะเศรษฐกิจและการค้าของฮอลันดา
ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก
ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกล ๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเชียและอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation) และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน
ฮอลันดา หรือฮอลแลนด์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนเธอร์แลนด์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ก่อนหน้านี้ชาวดัตซ์ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าเครื่องเทศในยุโรปมาโดยตลอด โดยส่งเรือสินค้าไปรับเครื่องเทศจากโปรตุเกสที่ท่าเรือลิสบอน แต่เมื่อฮอลันดาได้ก่อกบฏและแยกตัวเป็นอิสระใน ค.ศ.1580 ห้ามไม่ให้พ่อค้าดัตซ์เข้าไปซื้อเครื่องเทศในตลาดโปรตุเกสอีกต่อไป นโยบายดังกล่าวจึงเท่ากับบีบบังคับให้ฮอลันดาต้องหาเส้นทางเพื่อติดต่อซื้อเครื่องเทศโดยตรงกับอินดิสตะวันออกของโปรตุเกส ในไม่ช้ากองทัพเรือที่เข้มแข็งของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน ค.ศ.1598 ฮอลันดาได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และอีก 4 ปีต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาขึ้นเพื่อควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ การครอบครองหมู่เกาะเครื่องเทศของฮอลันดามีผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ใน ค.ศ.1606 บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่งวิลเล็ม เจนซ์ (Willem Jansz) คุมเรือ ดุฟเกน (Duyfken) จากบันดา (Banda) เพื่อค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่าอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา การเดินเรือครั้งนี้ทำให้เจนซ์ และลูกเรือชาวดัตซ์เป็นคนขาวกลุ่มแรกที่ได้เห็นทวีปอสเตรเลีย และทำให้ฮอลันดาได้รับการยกย่องว่าเป็นชาติแรกที่ค้นพบทวีปออสเตรเลีย แม้ว่าเดิมฮอลันดาเดินทางมายังตะวันออกเพื่อความมุ่งหมายทางการค้าเป็นสำคัญ แต่ภายหลังฮอลันดาก็เปลี่ยนนโยบายโดยยึดเอาดินแดนที่ตนครอบครองไว้ให้อยู่ในฐานะเป็นอาณานิคม
สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ
การสำรวจของดัตช์เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกจากอัมสเตอร์ดัมเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1595 โดยมีจุดหมายการเดินทางไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[24] กองเรืออีกกองหนึ่งออกเดินทางในปี ค.ศ. 1598และกลับมาในปีต่อมาพร้อมด้วยเครื่องเทศหนัก 600,000 ปอนด์และสินค้าอื่น ๆ จากอินเดียตะวันออก[24] หลังจากนั้นสหบริษัทอินเดียตะวันออกที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1602 ก็เริ่มผูกขาดการค้าขายกับผู้ผลิตกานพลูและจันทน์เทศหลัก ระหว่างนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ส่งเครื่องเทศเป็นจำนวนมากกลับมายังยุโรปในคริสต์ศักราช
จากบันทึกของสารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 2002
“ในปี ค.ศ. 1602 บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยอำนาจของรัฐสภาแห่งเนเธอร์แลนด์ (States-General of the Netherlands) ในปี ค.ศ. 1664 บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสโดยการอนุมัติของรัฐบาลภายใต้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ชาติยุโรปอื่น ๆ ต่างก็ออกใบอนุญาตแก่บริษัทอินเดียตะวันออกโดยได้รับความสำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง ที่ตามมาด้วยความแก่งแย่งที่จะมีอภิสิทธิ์และเอกสิทธิ์ในการควบคุมการค้า โปรตุเกสมีอิทธิพลเหนือกว่าประเทศใดอยู่ราว 100 ปีแต่ในที่สุดก็มาเสียอำนาจให้แก่อังกฤษและดัตช์ เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ของอังกฤษก็มาอยู่ในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ดัตช์มาควบคุมการค้าส่วนใหญ่ในอินเดียตะวันออกตะวันออก ”
การแข่งขันเพื่อที่จะควบคุมการค้าขายเครื่องเทศที่เพิ่มมากขึ้นนำไปสู้ความขัดแย้งที่ทำให้ต้องใช้กำลังทางทหารในการพยายามแก้ปัญหาในปี ค.ศ. 1641 หมู่เกาะโมลุกกะของโปรตุเกสก็ถูกยึดโดยดัตช์ การยึดโมลุกกะทำให้เกิดการทำไร่กานพลูและจันทน์เทศกันเป็นอุตสาหกรรมกันบนเกาะ ในขณะเดียวกันก็มีการพยายามกำจัดการปลูกบนเกาะอื่นโดยใช้สนธิสัญญาปัตตาเวีย (ค.ศ. 1652)ทั้งนี้ก็เพื่อการควบคุมปริมาณของผลผลิตของตลาดเพื่อรักษาราคา[24] ความพยายามครั้งนี้เป็นการยุติระบบการค้าขายเครื่องเทศที่ทำกันมาในอดีตและเป็นการลดจำนวนประชากรของหมู่เกาะต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่เกาะบันดา
“การค้าขายโดยชาวยุโรประหว่างบริเวณต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันทำผลกำไรได้มากกว่าการนำกลับไปขายยังบ้านเกิด ในคริสต์ทศวรรษ 1530 โปรตุเกสขนกานพลู และผลิตผลจากจันทน์เทศไปยังอินเดียและออร์มุซมากกว่าจำนวนที่ส่งไปยังโปรตุเกส ผู้ซื้อในออร์มุซก็ได้แก่พ่อค้ามัวร์ผู้ส่งต่อไปขายยังเปอร์เซีย อาหรับ และประเทศในเอเชียอื่น ๆ จนถึงตุรกี ตั้งแต่อย่างน้อยก็ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สินค้าอย่างเดียวกันก็ถูกส่งไปยังเบงกอลโดยโปรตุเกสและดัตช์ พ่อค้าอังกฤษพบว่าการค้าเครื่องเทศเป็นไปอย่างดีกว่าที่คาดที่สุรัต (Surat) และตามเมืองต่าง ๆ ในอินเดียและเปอร์เซีย ระหว่าง ค.ศ. 1620 ถึง ค.ศ. 1740 ดัตช์ทำการค้ากว่าหนึ่งในสามของตลาดเครื่องเทศโดยเฉพาะการค้ากานพลูในเอเชียที่รวมทั้งเปอร์เซีย อาหรับ และอินเดีย โปรตุเกสขายให้ญี่ปุ่นจากมาเก๊าและต่อมาดัตช์ แต่ความต้องการกานพลูและเครื่องเทศเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ในระดับต่ำซึ่งเป็นผลให้ราคาลดตามลงไปด้วย
ปีนังซึ่งเป็นอาณานิคมอังกฤษได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าสำหรับการค้าพริกไทยในปี ค.ศ. 1786ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณานิคมของฝรั่งเศสในอินเดียก็ถูกยึดโดยอังกฤษผู้พยายามควบคุมการค้าขายของดัตช์ในบริเวณตะวันออกไกล อิทธิพลของอังกฤษที่เพิ่มมากขึ้นเป็นผลให้อิทธิพลของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เริ่มอ่อนตัวลง
ในปี ค.ศ. 1585 เรือจากเวสต์อินดีสก็เดินทางมาถึงยุโรปพร้อมด้วย “ขิงจาเมกา” ที่เดิมปลูกกันในอินเดียและทางใต้ของประเทศจีน ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดแรกจากเอเชียที่ไปเติบโตในโลกใหม่สำเร็จ ความคิดที่ว่าต้นไม้หรือพืชพันธุ์ไม่สามารถนำไปปลูกนอกบริเวณดั้งเดิมที่เชื่อกันมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่สนับสนุนโดยก็นักพฤษศาสตร์คนสำคัญของสมัยนั้นเช่นจอร์จ เอเบอร์ฮาร์ด รุมพฟ[27]ก็หมดความหมายไปจากการทดลองปลูกพืชพันธุ์ต่าง ๆ ในยุโรปและคาบสมุทรมาเลย์ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1815 การส่งผลผลิตของจันทน์เทศจากสุมาตราก็มาถึงยุโรปเป็นครั้งแรกนอกจากนั้นหมู่เกาะในเวสต์อินดีสเช่นเกรนาดาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการค้าขายเครื่องเทศ
ไม้จันทน์จากติมอร์และทิเบตก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเและกลายเป็นสินค้ามีค่าของจีนระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ เอเชียตะวันออกนิยมใช้สินค้าที่ทำจากไม้จันทน์ที่ใช้ในการแกะพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ
ระหว่างครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พ่อค้าจากซาเล็ม, แมสซาชูเซตส์ได้ผลกำไรเป็นอันมากจากการค้าขายกับสุมาตรา[30] ราชอาณาจักรอเซห์ (Aceh) ที่ตั้งอยู่ตอนปลายของเกาะสุมาตรากลายมาเป็นผู้มีอำนาจในการค้าขายเครื่องเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อชนอเซห์ต่อต้านการรุกรานของดัตช์โดยหันไปเป็นพันธมิตรกับผู้ค้าขายจากซาเล็ม[31] ในปี ค.ศ. 1818 การค้าขายระหว่างซาเล็มและสุมาตราก็เกิดขึ้นหลายครั้งอย่างไม่มีเหตุการณ์สำคัญใดใด[32] มาจนกระทั่งเมื่อถูกโจมตีโดยโจรสลัดเข้าหลายครั้ง ซึ่งทำให้เกิดข่าวลือกันไปต่าง ๆ ในวงผู้ค้าขายถึงอันตรายของนักเดินเรือชาวอินเดียและชาวยุโรปที่ประสบจากน้ำมือของโจรสลัดในบริเวณนั้น[32] สหรัฐอเมริกาแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการการลงโทษหลังจากที่ผู้ค้าขายจากนิวอิงแลนด์ประสบภัยจากโจรสลัดและหลังจากกะลาสีของเรือสินค้าห้าคนถูกสังหารซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์อันร้ายแรงที่มีผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสุมาตราและซาเล็ม
การประดิษฐ์ระบบการทำความเย็น (refrigeration) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นผลทำให้ความต้องการเครื่องเทศโดยทั่วไปลดลงซึ่งก็ทำให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการค้าขายเครื่องเทศโดยตรง
ดัตช์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก (The Dutch in the East Indies)
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company) ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ในหมู่เกาะชวา เพื่อควบคุมการค้าเครื่องเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 บริษัทได้เข้ายึดไต้หวัน (ซึ่งในเวลานั้นจีนยังไม่ได้อ้างสิทธิว่าเป็นดินแดนของตน) เป็นดินแดนอาณานิคมของดัตช์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น ภายหลังเกิดสงครามนโปเลียน (The Napoleonic Wars) ดัตช์ก็มุ่งความสนใจในการประกอบกิจการพาณิชย์ของตนไปอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (อินโดนีเซีย) มาจนตลอดศตวรรษที่ 19 และสูญเสียส่วนใหญ่ของอาณานิคมแห่งนี้ของตนให้แก่ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้แก่กองกำลังพันธมิตรในปี 1945 โปรตุเกสก็ต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อ
การเข้ามาของฮอลันดาในเอเชีย
ฮอลันดาเป็นชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่างๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐ บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่างๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒ ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย ( เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน ) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง
พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2124ขณะนั้นพระมหาธรรมราชาเป็นกษัตริย์ของสยาม ส่วนในด้านยุโรปสเปนกับโปรตุเกตได้รวมตัวเป็นอาณาจักรเดียวกันภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปส์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2123พ.ศ. 2131 อังกฤษสามารถรบชนะกองเรืออาร์มาด้าของสเปนเป็นการลดบทบาทการค้าทางทะเลของสเปนและโปรตุเกตลงอย่างมาก การกระจุกตัวทางการค้าที่กรุงลิสบอนจึงลดลงเมืองท่าของฮอลันดากลายมาเป็นศูนย์กลางทางการค้าแทน ส่วนทางด้านเอเชียนั้นฮอลันดามาตั้งสถานีการค้าแห่งแรกที่เมืองบันตัมบนเกาะชวาเมื่อ พ.ศ. 2135 ( ตรงกับสยามในช่วงรัชสมัยพระนเรศวร ) พ.ศ. 2137 พระเจ้าฟิลิปส์สั่งปิดเมืองท่าลิสบอนไม่ให้อังกฤษและฮอลันดาเข้ามาค้าขายเป็นเหตุให้พวกพ่อค้าฮอลันดาและอังกฤษ ต้องสร้างกองเรือของตนเองทำการค้าขายโดยไม่ผ่านเมืองท่าของสเปนและโปรตุเกต พ่อค้าชาวฮอลันดาเข้ามาบุกเบิกตลาดการค้าทางแถบเอเชียเน้นการค้าเครื่องเทศเป็นหลัก เนื่องจากได้กำไรเฉลี่ย 400 เปอร์เซ็นต์ และใน พ.ศ. 2143 อังกฤษตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้นมารองรับการค้าในแถบเอเซีย ใน ปีเดียวกันนี้ฮอลันดาขยายฐานสถานีการค้าเข้ามาถึงเมืองปัตตานีซึ่งเป็นประเทศราชของสยาม เมื่ออังกฤษตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้นมาจึงทำให้พ่อค้าชาวฮอลันดา 17 รายรวมกลุ่มกันตั้งบริษัทเอเชียตะวันออกของฮอลันดา ( VereenigteOost-In-dische Compagnie หรือ VOC ) ขึ้นในพ.ศ. 2145 โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลแต่อย่างใด และส่งนายคอร์เนเลียส สเปกซ์เป็นทูตเจริญไมตรีทางการค้ากับสยามใน พ.ศ. 2147 ปลายรัชสมัยพระนเรศวร ขณะนั้นสยามกำลังยกทัพไปเชียงใหม่เพื่อจะเข้ารบกับพม่าที่เมืองอังวะ
ทูตที่เข้ามานี้น่าจะเข้ามาเฝ้าพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก่อนเคลื่อนทัพออกจากอยุธยาซึ่งสยามกำลังต้องการปืนไฟเพื่อใช้ในการสงคราม พ.ศ. 2150พระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ได้ประมาณ 2 ปี ส่งคณะทูต 20 คน ไปเจริญไมตรีทางการค้ากับฮอลันดา หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีฮอลันดาจึงได้เปิดสถานีการค้ากับสยามที่กรุงศรีอยุธยา
ประเทศไทย กับ ฮอลันดา
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 อิทธิพลทางการค้าของโปรตุเกสในเอเชียลดน้อยลงไปอย่างมาก เนื่องจากประเทศโปรตุเกสถูกประเทศสเปนยึดครองระหว่าง พ.ศ. 2123 จนถึง พ.ศ.2183 ทำให้ฮอลันดาและอังกฤษได้ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนขึ้น เพื่อผูกขาดการค้าในแถบตะวันออก บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้รับมอบเอกสิทธิ์ในการเจรจาทางการค้ากับเจ้าผู้ปกครองชาวพื้นเมืองต่างๆ และมีกองทหารและกองเรือรบเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางการค้าในที่สุดฮอลันดาสามารถตั้งสถานีการค้าขั้นที่เมืองปัตตาเวียเพื่อเป็นศูนย์กลางการดำเนินการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทั้งหมด
ฮอลันดาเข้าติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกใน พ.ศ. 2147 โดยผ่านเมืองปัตตานีประเทศราชของเมืองปัตตานีในขณะนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญของฮอลันดา คือต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในประเทศจีน โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย แต่ไทยยินดีต้อนรับเฉพาะเรื่องที่ชาวฮอลันดาจะเข้ามาค้าขายเท่านั้นดังนั้นบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาจึงผิดหวังที่ไม่สามารถอาศัยเรื่อสำเภาของอยุธยาเข้าไปค้าขายยังประเทศจีนได้ แต่ฮอลันดาก็ยังสนใจที่อยู่หาลู่ทางการค้าที่กรุงศรี-อยุธยาต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากอยุธยามีสินค้ามากมายทั้งสินค้าประเภทของป่าและธัญญาหาร เช่น ไม้ยาง ไม้กฤษณา ดีบุก หนังสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และข้าว ชาวฮฮลันดาจึงเห็นประโยชน์จากการเข้ามาค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา และตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2151-2308
ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดากับราชสำนักอยุธยาในปลาย พุทธศตวรรษที่ 22 รุ่งเรืองมาก คณะทูตไทยเดินทางไปกรุงเฮก ถวายพระราชสาสน์แด่กษัตริย์ฮอลันดาใน พ.ศ. 2151 นับเป็นคณะทูตไทยชุดแรกที่เดินทางไปถึงทวีปยุโรปของฮอลันดา ทำให้เกิดขัดแย้งกับผลประโยชน์และระบบการค้าผูกขาดพระคลังสินค้าของอยุธยา หลายครั้งที่ฮอลันดาขอสิทธิผูกขาดในการส่งสินค้าออก เช่น หนังกวาง ดีบุก แต่มักจะไม่มีผลในทางปฏิบัติทำให้ฮอลันดาไม่พอใจ บางครั้งเกิดกรณีการขัดแย้งกันจนถึงขั้นฮอลันดานำกองเรือปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เมื่อความขัดแย้งสิ้นสุด ลงบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาก็ทำการค้ากับอยุธยาต่อไป
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 การค้าของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาค่อยๆ ลดความสำคัญลง เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์อยุธยาและความผันผวนทางการเมืองในราชสำนัก ประกอบกับสภาวการณ์ทางการค้าในยุโรปและเอเชียตะวันออกเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาไม่อำนวยและมีปัญหา ฮอลันดาจึงค่อยๆถอนตัวจากการค้าที่กรุงศรีอยุธยา
อินโดนีเซีย – ฮอลันดา
ฮอลันดา (ดัช) สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐ ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่างๆ ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัทVOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม
สภาพการเมืองของอินโดนีเซียก่อนการเข้ามาของฮอลันดา การเมืองแตกแยกเป็นรัฐเล็กๆ สุลต่านเป็นประมุขสูงสุดในการปกครองและศาสนา ทำให้ประชาชนเคารพและจงรักภักดีต่อสุลต่าน เนื้อที่พื้นดินของอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ไปด้วยป่าดงดิบหนาแน่น ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินมีการขึ้นเรื่อยๆ จากการระเบิดของภูเขาไฟ เช่น บนเกาะชวานั้นเต็มไปด้วยภูเขาไฟ ภายหลังจากการระเบิด ลาวาของภูเขาไฟมีแร่ธาตุที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ค.ศ. ๑๘๑๖ อังกฤษคืนชวาให้กับดัช ดัชกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งสถานะทางการเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง รัฐบาลฮอลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายใน ทำให้อินโดนีเซียตั่งแต่ ค.ศ. ๑๘๑๖ถึงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์
ฮอลันดา (ดัช) สนใจประเทศอินโดนีเซียเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องเทศที่มีคุณภาพ ต้องการผูกขาดการค้าเครื่องเทศและกาแฟ จากการแข่งขันทางการค้าในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศตวรรษที่ ๑๖ – ๒๐) ทำให้ รัฐบาลฮอลันดาร่วมทุนกับบริษัทของการค้าใหญ่ตามเมืองท่าต่าง ๆ ของฮอลันดา ก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (V.O.C.) ขึ้นในวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๑๖๐๒ ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าขึ้นที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผู้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติ พ่อค้าคนแรกของดัชคือ สตีเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเช่นที่เกาะเทอร์เนตใน หมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัม และกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์บนแหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา
ในระยะแรกเริ่ม ดัชสนใจเพียงแค่การค้าเพียงอย่างเดียว ไม่ได้สนใจครอบครองดินแดน การผูกขาดการค้าเครื่องเทศ ในหมู่เกาะเครื่องเทศ ผูกขาดการค้าข้าวในชวา และการผูกขาดการค้าอื่น ๆ ได้ผลเป็นอย่างดี ไม่มีความจำเป็นจะต้องครอบครองดินแดนแต่อย่าง การใช้นโยบายผูกขาดทางการค้าไปพร้อม ๆ กับ ขจัดอิทธิพลของชาติอื่นคือ โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ โดยเสนอผลประโยชน์ให้สุลต่านในการทำสัญญาผูกขาดเครื่องเทศ ให้เงินตอบแทนและขายอาวุธให้ ขยายอำนาจทางการค้าไปยังดินแดนต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่เกาะเครื่องเทศ พร้อม ๆ กับคุกคามโปรตุเกสให้ถอนกำลังทางการค้าในบริเวณถูมิภาคนี้ อีกทั้งปราบปรามอังกฤษให้ให้แข่งขันทางการค้า ใช้วิธีการปกครองแบบ Priangan System แบ่งดินแดนการปกครองออกเป็นเขต ๆ แต่งตั้งหัวหน้าชาวพื้นเมืองของแต่ละเขตเรียกว่า Regent มีหน้าที่ควบคุม ดูแลชาวพื้นเมืองเพาะปลูก และส่งผลผลิตให้กับV.O.C. ในราคาที่บริษัทกำหนดไว้ Regent จะไม่ได้รับเงินเดือน แต่จะได้รับสิทธิทางภาษีจากประชาชนในเขตการปกครองของตน ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทว่าต้องจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการชาวพื้นเมือง แต่การจัดการปกครองแบบนี้ทำให้ Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก มักทำอะไรตามอำเภอใจ ดำเนินกิจการต่าง ๆ เป็นอิสระ Regent นานวันนับมีอำนาจมากยิ่งขึ้น เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันเอง กดขี่ชาวพื้นเมือง ในภายหลังบริษัทจึงเข้าแทรกแซง และควบคุมการตรวจสอบพวก Regentนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ฮอลันดาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน และเริ่มใช้นโยบายควบคุมดินแดน (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๕ – ๘๖ อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มแรกนี้ ๆ การผูกขาดทางการค้าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ดัชทำการปกครองทางอ้อม ปล่อยให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองของครอบครัวและหมู่บ้านที่เรียกว่า เดสา (Dasa) ตามกฎหมายและจารีตประเพณีพื้นเมือง อะดาท (Adat) ดัชรักษาเพียงผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แต่เนื่องจากการที่ชาวพื้นเมืองลักลอบขายสินค้าให้กับโปรตุเกส อังกฤษ สเปนและอาหรับ เนื่องจากชาติเหล่านี้ให้ราคาสูงกว่า Regent แต่ละคนมีอำนาจมาก เกิดการทะเลาะขัดแย้งกันเอง กดขี่คนพื้นเมือง บริษัทจึงเข้าแทรกแซง และควบคุมการตรวจสอบ อีกทั้งปัญหาโจรสลัดปล้นเรือสินค้าของ V.O.C. จึงทำให้ดัชจึงมีนโยบายควบคุมดินแดนนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ V.O.C.
สาเหตุการเสื่อมอำนาจของฮอลันดา
ฮอลันดาเป็นนชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๑๑๑ จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. ๒๑๔๕ บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ ๕๐ บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. ๒๑๖๒ ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย (เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. ๒๑๘๔ ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู
การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมากรัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง
สาเหตุที่ทำให้อำนาจทางการค้าของฮอลันดาเสื่อม มีดังนี้
1. การเข้ามาขยายอิทธิพลของอังกฤษ
ในปี ค.ศ.1818 เซอร์ แสตมฟอร์ด แรฟเฟิล ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษให้เป็นผู้ว่าการอาณานิคมของอังกฤษในเบนคูเลน แต่เนื่องจากบริเวณนี้ฮอลันดาผูกขาดทางการค้าอยู่ เซอร์แรฟเฟิลจึงคิดหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งสถานีการค้าแห่งใหม่และเพื่อคานอำนาจของฮอลันดา เขาได้ออกสำรวจและเดินทางถึงสิงคโปร์ในวันที่ 29 มกราคม 1819 เซอร์แรฟเฟิลพบว่าสิงคโปร์มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมจะเป็นศูนย์กลางการค้าของอังกฤษในภูมิภาคนี้
ขณะนั้นเกาะสิงคโปร์เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำสิงคโปร์ และเป็นส่วนหนึ่งของยะโฮร์ เซอร์แรฟเฟิลเจรจากับสุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน (Sultan Abdul Raman Mauzzan, 1812-1819) แห่งยะโฮร์เพื่อจัดตั้งสถานีการค้าบนเกาะสิงคโปร์ แต่ถูกปฏิเสธ ทั้งนี้เพราะยะโฮร์อยู่ภายใต้อำนาจของฮอลันดาและบูกิส ต่อมาอังกฤษได้สืบทราบว่าการที่สุลต่าน อับดุล ราห์มาน มอสแซน ได้ครองราชย์เป็นเพราะพระเชษฐา ตนกูฮุสเซน ชาห์ หรือ ตนกูลอง (Tengku Hussein Shah หรือ Tengku Long) ซึ่งมีสิทธิ์ในการครอบครองราชย์ไม่ประทับอยู่ที่ยะโฮร์ในขณะที่อดีตสุลต่านสวรรคต จึงเสียสิทธิ์ในการครองบัลลังก์ เซอร์แรฟเฟิลจึงได้สมคบกับตนกูฮุสเซน ชาห์ ซึ่งถูกเนรเทศไปอยู่ที่รีเยาให้กลับมาเป็นสุลต่านแห่งยะโฮร์ ช่วยให้อังกฤษสามารถครอบครองสิงคโปร์ โดยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1819 เซอร์แรฟเฟิล โดยบริษัทอินเดียตะวันออก และสุลต่านฮุสเซน ซาห์ (Sulantan Hussein Shah, 1819 - 1835) ได้ลงนามอย่างเป็นทางการเพื่อขอใช้เกาะสิงคโปร์ เมื่ออังกฤษได้จัดตั้งอาณานิคมช่องแคบซึ่งประกอบด้วย ปีนัง ดินดิงส์ มะละกา และสิงคโปร์ ได้กำหนดให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองของอาณานิคมช่องแคบ
2.ความเสื่อมของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา
การแข่งขันทางด้านการค้าในยุโรป การขยายการค้าเกินกำลัง V.O.C. ขยายตัวทางการค้าเข้าไปใน จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การค้าในจีนขาดทุ่น ประกอบกับสินค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง ความต้องการสิ่งทอ จากอินเดีย และ ใบชาจากจีนเพิ่มขึ้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงการปลูกพืชชนิดใหม่เช่นชา กาแฟ แทนการปลูกเครื่องเทศในหมู่เกาะชวา ตั่งแต่บันทัมถึงมาธะรัม จำกัดการเพาะปลูกเครื่องเทศให้น้อยลง คือ ให้ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกิน ๕ต้น ใครปลูกมากจะถูกจำคุก (ศิวพร ชัยประสิทธิกุล, ผศ., ๒๕๓๐ : ๘๐) แต่ก็ไม่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทได้
การผูกขาดการค้า ดัชไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ ไม่สนใจสวัสดิการของชาวพื้นเมือง เอารัดเอาเปรียบชาวพื้นเมือง ให้ค่าจ้างแรงงานพื้นเมืองถูก ให้ราคาสินค้าต่ำ ขายสิ้นค้าอุปโภคบริโภคให้ชาวพื้นเมืองแพงการผูกขาดทางการค้าไม่ได้ผลเท่า ที่ควรเนื่องจากมีอังกฤษและพ่อค้าชาวอาหรับเป็นคู่แข่ง อังกฤษและฝรั่งเศสหันมาส่งเสริมคนพื้นเมืองในอาณานิคมของตน เพาะปลุกค้าขายแข่งกับฮอลันดา ทำให้รายได้ของฮอลันดาลดลง ผลจากควบคุมการผลิตไม่ให้ผลผลิตมากเกินไป สิ้นค้าเครื่องเทศลดความนิยมลง การผลิตต้องถูกควบคุมโดย V.O.C. กดราคาสินค้าให้ต่ำ คนพื้นเมืองไม่พอใจต่อการบังคับการเพาะปลูก ต้องทำงานหนัก ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงเกิดการก่อกบฏ อีกทั้งเกิดปัญหาโจรสลัด และการลักลอบขายสินค้า ดัชต้องเสียเงินอย่างมากในการปราบปราม
เกิดปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ ข้าราชการได้เงินเดือนน้อยจึงต้องมีการติดสินบน แอบค้าขาย หารายได้ส่วนตัว และโกงบริษัทด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นซื้อสิ้นค้าจากคนพื้นเมืองถูก ๆ ทั้ง ๆ ที่ดัชให้ราคาถูกอยู่แล้ว แต่กลับเบิกจากบริษัทแพงกว่าราคาซื้อ โกงตาชั่งน้ำหนัก ฯลฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากในการปราบปราม
การมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น จึงมีค่าใช่จ่ายมากขึ้นเนื่องจากการขยายดินแดนและควบคุมดินแดนต่าง ๆ จ้างข้าราชการมากขึ้น มีการก่อกบฏหลายครั้ง รัฐเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในยุโรป สงครามปฏิวัติอเมริกา และ การปฏิวัติฝรั่งเศส ทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะงักงัน V.O.C. เสียผลประโยชน์ทางการค้า
การจ่ายเงินคืนกำไรให้หุ้นส่วนมาก ทั้งที่บริษัทใกล้จะขาดทุน เพราะกลัวหุ้นส่วนถอนหุ้น
ในที่สุด บริษัท V.O.C. ต้องล้มละลายลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๗๙๙ รัฐบาลฮอลันดาต้องเข้ามารับภาระในการชำระหนี้สิน มีการส่งข้าหลวงใหญ่เข้ามาปกครองอาณานิคม ทำการปฏิรูปการปกครองใหม่
3.เกิดสงคราม นโปเลียนในยุโรป ค.ศ. 1811 – 1816
ฮอลันดาต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส อังกฤษจึงต้องเข้ามาดูแลชวา และ หมู่เกาะเครื่องเทศชั่วคราว ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันของอังกฤษ ในระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๑๑ –๑๘๑๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ (ค.ศ. ๑๗๙๕) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนําโดยพระเจ๎านโปเลียนที่ ๑ ได๎กรีฑาทัพเข๎ายึดครองเนเธอรแลนด และในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ (ค.ศ. ๑๘๑๐) เนเธอรแลนดก็ได๎ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอํานาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ (ค.ศ. ๑๘๑๔) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอรแลนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอรแลนดและเบลเยียม ประเทศทั้งสองจึงได้แยกออกจากกัน
4. การถูกกีดขวางจากฝรั่งเศส
ในปี ค.ศ. ๑๖๘๕ ฟอลคอนไม่ยอมให้ชาวฮอลันดาสร้างสถานีการค้าเป็นตึกที่นครศรีธรรมราช แต่ยอมให้สร้างด้วยไม้เป็นการชั่วคราว จากอุปสรรคประการต่างๆ ที่ขัดขวางการค้าขายของฮอลันดา ทำให้ฮอลันดาค่อยๆ ถอนตัวทางการค้าในประเทศสยามตั้งแต่นั้นมา การค้าของฮอลันดาก็เสื่อมโทรมลงตามลำดับ จนกระทั่งอยุธยาเสียแก่พม่าในปี ค.ศ. ๑๗๖๗ เป็นเหตุให้การค้ากับชาวตะวันตกได้ยุติลงโดยสิ้นเชิง
5.ปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจของฮอลันดาได้สิ้นสุดลงในระหว่างศตวรรษที่ ๑๘ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ อาจเป็นเพราะความก้าวหน้าที่ดําเนินมานั้นได้หยุดชะงักลง หรือเสื่อมทรุดลง แต่ว่าส่วนใหญ่คงเนื่องมาจากประเทศอื่นพัฒนารุดหน้าตามมาทันโดยเลียนแบบทางเทคนิคด้านต่างๆ แล้วในที่สุดก็เลิกซื้อสินค้า เลิกใช้บริการ เลิกใช้เรือ หรือเงินทุนของฮอลันดา จุดอ่อนอันสําคัญของฮอลันดาซึ่งไม่มีวัตถุดิบที่หาได้ภายในประเทศได้ทําให้ฮอลันดาไม่สามารถที่จะดํารงฐานะเป็นผู้ผลิตสินค้าใดๆ ได้เป็นการถาวรตลอดไป การที่ต้องอาศัยสั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อแปรสภาพแล้วส่งออกไปจําหน่ายอีกนั้น ทําให้ฐานะทางเศรษฐกิจของฮอลันดาไม่มั่นคงแน่นอนและตกอยู่ในฐานะลําบาก เมื่อประเทศที่เคยส่งวัตถุดิบให้ หรือที่เคยซื้อสินค้าจากฮอลันดากลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมมีฐานะเข้มแข็งขึ้น หรือประเทศดังกล่าวกลายเป็นศัตรูทางการเมืองกับฮอลันดา หนึ่ง ในด้านการต่อเรือและการเดินเรือ ประเทศอื่นก็มีความรู๎ความสามารถขึ้น และในด้านการเงินการธนาคาร ชาวฮอลันดาก็ไม่อาจทําการผูกขาดได้เช่นแต่ก่อน บุคคลที่เคยอาศัยชาวฮอลันดาเป็นคนกลาง ก็สามารถทําการติดต่อกันได้โดยตรงในที่สุดฐานะของฮอลันดาที่เคยได้เปรียบชาติอื่นในด้านต่างๆ ก็เริ่มลดลงและความได้เปรียบดังกล่าวก็เริ่มหลุดลอยไปทีละอย่างสองอย่าง อีกประการหนึ่ง ความผิดพลาดอย่างฉกรรจ์บางอย่างของฮอลันดา และการที่มีแนวความคิดหรือทรรศนะตายตัว โดยไม่ยอมปรับเปลี่ยนตนให้ทันต่อการเปลี่ยนผันของโลก เป็นส่วนสำคัญทำให้อำนาจฮอลันดาเสื่อมลง
ขอขอบคุณเเหล่งข้อมูล
- http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%
- http://www.meetawee.com/home/travel-info
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น